เมนู

ทราบว่า ท่านพระวักกลิเถระได้ภาษิตภาถาเหล่านี้ ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบวักกลิเถราปทาน

532. อรรถกถาวักกลิเถราปทาน



พึงทราบเรื่องราวในอปทานที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
อปทานของท่านพระวักกลิเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมฺหิ
ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระชินวรพุทธเจ้าพระ-
องค์ก่อน ๆ ได้สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้เป็นอันมากในภพ
นั้น ๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านได้
บังเกิดในเรือนอันมีสากล ในหังสวดีนคร บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ไปยัง
พระวิหารพร้อมกับพวกอุบาสกอุบาสิกา ซึ่งกำลังเดินทางไปเฝ้าพระศาสดา
ไปถึงแล้วยืนอยู่ที่ท้ายบริษัท กำลังฟังธรรมอยู่ มองเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่ง
พระศาสดาทรงสถาปนาเธอไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นศรัทธา-
ธิมุต (คือหนักไปในความเชื่อ) แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงได้
ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด 7 วัน แล้วได้ตั้ง
ปณิธานไว้แล้ว พระศาสดาทรงเห็นว่าเธอไม่มีอันตราย จึงได้ทรงพยากรณ์.
เขาได้บำเพ็ญกุศลกรรมไว้จนตลอดชีวิตแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวโลก
และมนุษยโลก ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ได้บังเกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี. มารดาบิดาได้ตั้งชื่อเขาว่า วักกลิ. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า กลิ เป็นชื่อของโทษมีมลทินและตกกระเป็นต้น กลิ คือ

โทษของผู้นั้นไปปราศแล้ว จากไปแล้ว เพราะเป็นเช่นกับก้อนทองคำที่ไล่
มลทินแล้ว เหตุนั้น ผู้นั้นท่านจึงเรียกว่า วักกลิ เพราะลง อาคม วักกลิ
นั้น เจริญวัยแล้ว เล่าเรียนไตรเพทจนจบในศิลปศาสตร์ของพวกพราหมณ์
ทั้งหมด (วันหนึ่ง) เห็นพระศาสดา มองดูรูปกายสมบัติไม่อิ่ม จึงเที่ยวจาริก
ไปกับพระศาสดา เขาคิดว่า เราอยู่แต่ในบ้าน ก็จักไม่ได้เห็นพระศาสดา
ตลอดกาลเป็นนิตย์ ดังนี้แล้ว จึงบวชในสำนักของพระศาสดา เว้นเวลาขบ
ฉัน และเวลาการทำสรีรกิจเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลือ ก็จะไปยืนอยู่ในที่ที่
สามารถจะเห็นพระทศพลได้ ยอมละหน้าที่อื่นเสีย ไปเฝ้าดูอยู่แต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น. พระศาสดา ทรงคอยความแก่รอบแห่งญาณของเธอ
ถึงเธอจะเที่ยวติดตามไปดูรูปหลายเวลา ก็มิได้ตรัสอะไร ๆ จนถึงวันหนึ่ง จึง
ตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการที่เธอต้องมาดูร่างกายอัน
เปื่อยเน่านี้ วักกลิเอย ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้น
ชื่อว่าเห็นธรรม ก็วักกลิเห็นธรรมอยู่ ก็ชื่อว่าเห็นเรา แม้เมื่อพระศาสดาตรัส
สอนอยู่อย่างนี้ พระเถระก็ไม่อาจจะละการมองดูพระศาสดาแล้วไปในที่อื่น
ได้ แค่นั้นพระศาสดาจึงทรงดำริว่า ภิกษุนี้ไม่ได้ความสังเวช จักไม่ได้ตรัสรู้
แน่ พอใกล้วันเข้าพรรษา จึงทรงขับไล่พระเถระไปด้วยพระดำรัสว่า วักกลิ
เธอจงหลีกไปเสียเถิด เธอถูกพระศาสดาทรงขับไล่แล้ว จึงไม่สามารถจะอยู่
ต่อพระพักตร์พระศาสดาได้ คิดว่าเราไม่ได้เห็นพระศาสดา จะมีชีวิตอยู่ไป
ทำไม ดังนี้แล้ว จึงขึ้นไปที่ปากเหว บนภูเขาคิชฌกูฏ. พระศาสดาทรง
ทราบความเป็นไปนั้นของเธอแล้ว ทรงดำริว่า ภิกษุนี้เมื่อไม่ได้รับความเบาใจ
จากสำนักของเรา ก็จะพึงทำให้อุปนิสัยแห่งมรรคและผลพินาศไป ดังนี้แล้ว
ทรงแสดงพระองค์ เปล่งพระโอภาส ตรัสพระคาถาว่า :-

ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จะพึงบรรลุบทอัน
สงบ อันเข้าไประงับสังขารเป็นสุขได้
ดังนี้.
ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า มานี่เถิด วักกลิ. พระเถระได้เกิดปีติและโสมนัสใจ
เป็นกำลังว่า เราจะได้เห็นพระทศพลแล้ว ความไม่เสื่อมเราได้แล้ว ด้วย
พระดำรัสว่า จงมา ดังนี้แล้วคิดว่า เราจะไปทางไหน แล้วไม่รู้หนทางที่ตน
จะไปเฝ้า จึงไปในอากาศเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา โดยเอาเท้าข้างหนึ่ง
เหยีนบบนภูเขา รำพึงถึงพระคาถาที่พระศาสดาได้ตรัสแล้ว ข่มปีติในอากาศ
นั่นแล บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แล้วข่มเรื่องที่ว่ามานี้ มา
ในอรรถกถาอังคุตตรนิกาย และในอรรถกถาธรรมบทแล.
ส่วนในอรรถกถานี้ นักศึกษาพึงทราบอย่างนี้ว่า พระวักกลิพอได้รับ
พระโอวาทจากพระศาสดา โดยนัยเป็นต้นว่า กึ เต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน
ทิฏฺเฐน
ดูก่อนวักกลิ จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการที่เธอต้องมาดูร่างกายอัน
เปื่อยเน่านี้ ดังนี้แล้ว ก็อยู่บนภูเขาคิชฌกูฏเริ่มเจริญวิปัสสนา เพราะความที่
เธอมีศรัทธาหนักมากไป วิปัสสนาจึงไม่หยั่งลงสู่วิถี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบเรื่องนั้นแล้ว ได้ทรงประทานให้เธอชำระกัมมัฏฐานใหม่. พระวักกลินั้น
ไม่สามารถจะทำวิปัสสนาให้ถึงที่สุดได้เลยทีเดียว.
ต่อมาอาพาธเนื่องด้วยลม เกิด ขึ้นแก่เธอ เพราะความบกพร่องแห่ง
อาหาร (ท้องว่าง) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าเธอถูกอาพาธเนื่องด้วย
โรคลมเบียดเบียน จึงเสด็จไปในที่นั้น เมื่อจะตรัสถาม จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เมื่อเธออยู่ในป่าใหญ่ ซึ่ง
เป็นที่ปราศจากโคจร เป็นที่เศร้าหมอง ถูกโรคลม
ครอบงำจักทำอย่างไร

พระเถระได้สดับพระดำรัสนั้นแล้ว จึงกราบทูลด้วยคาถา 4 คาถาว่า

ข้าพระองค์จะทำปีติและความสุข
ไพบูลย์ให้แผ่ไปสู่ร่างกาย ครอบงำปัจจัยอัน
เศร้าหมองอยู่ในป่าใหญ่
จักเจริญสติปัฏฐาน 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
และโพชฌงค์ 7 อยู่ในป่าใหญ่
เพราะได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ปรารถนาความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์
ความพร้อมเพรียงกัน มีความเห็นร่วมกัน ข้า
พระองค์จึงจักอยู่ในป่าใหญ่
เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นี้
พระองค์อันฝึกแล้ว มีพระหทัยตั้งมั่น จึงเป็น
ผู้ไม่เกียจคร้านตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน อยู่
ในป่าใหญ่ ดังนี้.
เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในอรรถกถาเถรคาถา
แล้วแล. พระเถระ พยายามเจริญวิปัสสนาอย่างนี้ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.
พระวักกลิเถระนั้น ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้ระลึกถึงบุญกรรม
ของตน เกิดความโสมนัสใจ เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติ
มาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อิโต สตสหสฺสมฺหิ ดังนี้ . บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า อิโต ความว่า ในที่สุดแสนกัป ภายหลังแต่ภัทรกัปที่
พระกกุสันธพุทธเจ้าเป็นต้น เสด็จอุบัติแล้วไป. บทว่า ปทุมาการวทโน ได้แก่
มีพระพักตร์มีความงดงามดุจดอกปทุมที่เบ่งบานดีแล้ว. บทว่า ปทุมปตฺตกฺโข
ความว่า มีพรเนตรเช่นกับดอกและใบปทุมขาว. บทว่า ปทุมุตฺตรคนฺโธ ว
ความว่า มีพระโอษฐ์มีกลิ่นคล้ายกลิ่นดอกปทุม. บทว่า อนฺธานํ นยนูปโม

ความว่า เป็นเสมือนนัยน์ตาของปวงสัตว์ผู้ปราศจากนัยน์ตา (คนตาบอด) คือ
ทรงประทานจักษุมีปัญญาจักษุเป็นต้น ให้ปวงสัตว์ทั้งหลาย ด้วยพระธรรม
เทศนา. บทว่า สนฺตเวโส ได้แก่ ทรงมีความสงบระงับเป็นสภาพ คือ ทรงมีพระ
อิริยาบถอันสงบ. บทว่า คุณนิธี ได้แก่ เป็นที่ฝังแห่งพระคุณทั้งหลาย, อธิบายว่า
เป็นที่รองรับหมู่แห่งพระคุณทั้งหมด. บทว่า กรุณามติอากโร ความว่า เป็น
บ่อเกิด คือ เป็นที่รองรับซึ่งความกรุณา กล่าวคือการยังจิตของสาธุชนทั้งหลาย
ให้หวั่นไหว และเป็นที่รองรับซึ่งมติอันเป็นเครื่องกำหนดประโยชน์และตัด
เสียซึ่งสิ่งอันหาประโยชน์มิได้. บทว่า พฺรหฺมาสุรสุรจฺจิโต ความว่าเป็นผู้อัน
พรหม อสูร และเทวดาเคารพ คือบูชาแล้ว. บทว่า นธุเรน รุเตน จ เชื่อม
ความว่า ทรงยังประชาชนทั้งหมดให้ยินดีด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะเสนาะดุจ
นกการเวก. บทว่า สนฺถวี สาวกํ สกํ ความว่า ได้ทรงชมเชย คือ ทรง
กระทำการชมเชยสาวกของพระองค์ด้วยพระธรรมเทศนาอันไพเราะเพราะพริ้ง.
บทว่า สทฺธาธิมุตโต ความว่า น้อมใจตั้งมั่นในพระศาสนาด้วยศรัทธาคือ
การน้อมใจเธอ. บทว่า มม ทสฺสนลาลโส ความว่า ขวนขวายมีใจจดจ่อใน
การดูเรา. บทว่า ตํ ฐานภิโรจยึ ความว่า เราชอบใจ ต้องการปรารถนา
ตำแหน่งสัทธาธิมุตนั้น. บทว่า ปีตมฏฺฐนิวาสนํ ความว่า ผู้นุ่งผ้ามีสีดุจ
ทองคำเนื้อเกลี้ยง. บทว่า เหมยญฺโญปจิตงฺคํ ความว่า มีอวัยวะอันบุญสร้างสม
ให้คล้ายกับสายสร้อยทองคำ. บทว่า โนนีตสุขุมาลํ มํ ความว่า ผู้มีมือและ.
เท้าอันละเอียดอ่อนดุจเนยข้น. บทว่า ชาตปลฺลวโกมลํ ความว่า นุ่มนิ่มอ่อน
ดุจความอ่อนของใบอโศกอ่อน ๆ ฉะนั้น. บทว่า ปิสาจีภยตชฺชิตา ความว่า
ในคราวที่หญิงแม่มดอื่น คือราษสตนหนึ่ง คุกคามทำให้เราผู้เป็นกุมารมีความ
กลัว มารดาบิดาได้ให้เรานอนใกล้บาทมูลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวง
คุณใหญ่อธิบายว่า มารดาบิดาของเราผู้มีจิตหวาดกลัวได้กราบทูลว่า ข้าแต่

พระโลกนาถ พระผู้นำของชาวโลก หม่อมฉันขอถวายทารกนี้แด่พระองค์
ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของทารกนี้ด้วยเถิด. บทว่า ตทา ปฏิคฺคหิ โส มํ
ความว่า ในคราวที่มารดาถวายเราแล้วนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ได้ทรงรับเราด้วยผ่าพระหัตถ์อันอ่อนนุ่มบริสุทธิ์ มีตาข่าย คือประกอบด้วย
ตาข่ายที่ท่านกำหนดด้วยจักรลักษณะเป็นต้น. บทว่า สพฺพปารมิสมฺภูตํ ความ
ว่า อันบังเกิดพร้อมด้วยพระบารมีทุกอย่าง มีทานบารมีเป็นต้น. บทว่า
นีลกฺขินยนํ วรํ ได้แก่ มีดวงตาสีเขียวอันอุดม เกิดแต่บุญสมภาร. บทว่า
สพฺพสุภากิณฺณํ ความว่า ได้ดูพระรูปเช่น พระหัตถ์ พระบาท และพระ-
เศียรเป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันลึกซึ้งเกลื่อนกล่นไปด้วยพระวรรณะ
สัณฐานอันงดงามพร้อมสรรพ. เชื่อมความว่า เรา (ดู) อยู่ ไม่ถึงความอิ่ม.
บทว่า ตทา นํ จรณนฺตโค ความว่า เมื่อเราได้บรรลุพระอรหัต
แล้วนั้น ได้ทรงทำที่สุดแห่งจรณะธรรม 15 ประการมีศีลเป็นข้อต้น อธิบาย
ว่า บรรลุถึงที่สุด คือบำเพ็ญจนเต็มบริบูรณ์. บาลีเป็น มรณนฺตโค ดังนี้
ก็มี อธิบายว่า ถึงที่สุดแห่งความตายนั้น ก็คือพระนิพพาน เธอมีความว่าได้
ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่าพวกภิกษุผู้เป็นสัทธาธิมุต. มีคำที่ท่านกล่าว
อธิบายไว้ว่า ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรง
สถาปนาเราไว้ในตำแหน่งที่เลิศด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วักกลิ
เป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นสัทธาธิมุตแล. คำที่เหลือมีเนื้อความ
พอกำหนดรู้ได้โดยง่ายทีเดียวแล.
จบอรรถกถาวักกลิเถราปทาน

มหากัปปิยเถราปทานที่ 3 (533)



ว่าด้วยบุพจริยาของมหากัปปินเถระ



[123] พระพิชิตมารผู้ทรงรู้จักธรรม
ทั้งปวงพระนามว่า ปทุมุตตระ ปรากฏในอัชฎากาศ
เหมือนพระอาทิตย์ ปรากฏในอากาศในสรทกาล
ฉะนั้น
พระองค์ยังดอกบัวคือเวไนยสัตว์ให้บาน
ด้วยพระญาณนี้คือพระดำรัส สมเด็จพระโลกนายก
ทรงยังเปือกตม คือกิเลสให้แห่งไปด้วยพระรัศมี
คือพระปรีชา
ทรงกำจัดยศของพวกเดียรถีย์เสียด้วย
พระญาณปานดังเพชร เหมือนพระอาทิตย์กำจัด
ความมืด ฉะนั้นสมเด็จพระทิพากรเจ้าทรงส่อง
แสงสว่างจ้าทั้งกลางคืน และกลางวัน ในที่ทุก
หนทุกแห่ง
เป็นบ่อเกิดแห่งคุณเหมือนสาครเป็นบ่อ
เกิดแห่งรัตนะ ทรงยังเมฆ คือ ธรรมให้ตกลง
เพื่อหมู่สัตว์ เหมือนเมฆยังฝนให้ตก ฉะนั้น
ครั้งนั้น เราเป็นผู้พิพากษาอยู่ในพระ
นครหังสวดี ได้เข้าไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้า
ผู้มีพระนามว่า ปทุมุตตระ ซึ่งกำลังประกาศคุณ